Category

บทความ

CRM
บทความ

ระบบ CRM สามารถเพิ่มความภักดีของลูกค้าได้อย่างไร

มีสถิติที่ถูกเผยแพร่และผู้ชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าในปัจจุบันธุรกิจนั้นเน้นไปที่การหาลูกค้าใหม่มากกว่าการรักษาลูกค้าเก่าที่มีอยู่ขอยกตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันที่มีการแข่งกันหลายค่ายก็จะเน้นไปที่การหาลูกค้าใหม่ย้ายค่ายแต่กับไม่มีโปรให้กับลูกค้าเก่า ดังนั้นระบบ CRM จึงเป็นคำตอบที่จะเข้ามาช่วยในการรักษาลูกค้าเก่าให้กับองค์กรต่างๆ

ระบบ CRM จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์หลายอย่าง

1.ส่วนแบ่งกระเป๋าเงินที่เพิ่มขึ้นหรือที่เรียกกันว่า (Share-of-wallet) หมายถึงจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่ายกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายกับคู่แข่งแบรนด์นั้น ลูกค้าจะเปลี่ยนใจและใช้เวลาและเงินมากขึ้นกับแบรนด์ที่ลูกค้ามี Loyalty

2.การตลาดแบบปากต่อปากช่วยให้ได้ลูกค้าใหม่และรักษา Loyalty ดีขึ้น อย่างที่ได้บอกไปในข้อหนึ่งว่าลูกค้าจะเปลี่ยนใจและใช้เวลาและเงินมากขึ้นกับแบรนด์ที่ลูกค้ามี Loyalty มากไปกว่านั้นลูกค้าที่ Loyalty ยังสามารถบอกต่อเพื่อนๆและเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับแบรนด์หรือบริการที่ใช้

3.เพิ่มความน่าเชื่อถือ ความภักดีของลูกค้ายังช่วยส่งเสริมความรู้สึกไว้วางใจระหว่างแบรนด์และลูกค้า เมื่อลูกค้าเลือกที่จะกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของคุณบ่อยๆ ดังนั้นจึงส่งผลให้คนนอกที่มองเข้ามานั้นมีความรู้สึกที่จะอยากซื้อ เพราะคนที่มองเข้ามาจะเห็นได้ว่าไม่ว่าลูกค้าเก่าจะใช้สินค้าหรือบริการเท่าไหร่ก็จะกลับมาซื้อและใช้บริการกับเราเสมอ

4.ช่วยเพิ่มการกระตุ้นการอยากซื้อแม้ลูกค้าจะไม่ได้ต้องการสินค้าตัวนั้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าซื้อสินค้ากับเราไปแล้ว 3 ชิ้นและกว่าสินค้าตัวนั้นจะใช้หมดลูกค้าอาจจะต้องใช้เวลา 2-3 เดือนแต่ในทางกลับกันเราจะใช้ระบบ CRM ยิงการตลาดไปหาลูกค้าเพื่อกระตุ้นการซื้อแม้ลูกค้าไม่อยากซื้อ อาจมีของแถมหรือซื้อตอนนี้ถูกกว่าลูกค้าซื้อแบบปกติ

5.การตัดสินใจซื้อของลูกค้าเก่ามีมากกว่าลูกค้าใหม่ เนื่องจากลูกค้าเก่าจะเคยใช้บริการหรือสินค้าเรามาแล้วดังนั้นโอกาสทำกำไรจากลูกค้าเก่าจึงมีมากกว่าลูกค้าใหม่ ดังนั้นการคิดโปรโมชั่นต่างๆหรือ Loyalty โปรแกรมที่ดีนั้นควรให้เป็นโปรโมชั่นที่แฟร์กับลูกค้าเก่าพอๆกับการที่เราจะเสนอให้ลูกค้าใหม่

สรุป

ระบบ CRM ช่วยนักการตลาดและฝ่ายขายในการปรับปรุงกระบวนการขายของธุรกิจ การทำงานของทีมขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากพบว่ายอดขายลดลงหรือมียอดที่จะหลุดไปก็สามารถไปกระตุ้นทีมขายได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยในการหาแนวทางในการแก้ไขปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น และเมื่อปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในขั้นตอนใดของการขายได้รับการแก้ไขฟรือมีแนวทางรับมือที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ทีมขายสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ปิดการขายได้อย่างสม่ำเสมอ สร้างรายได้ให้ธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มากไปกว่านั้นยังช่วยให้รักษาลูกค้าเก่าและเพิ่มการซื้อที่มากขึ้นได้เหมือนที่บอกไปใน 5 ข้อด้านบน

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
5 เหตุผลที่คุณควรใช้ Salesforce
บทความ

5 เหตุผลที่คุณควรต้องใช้ Salesforce

วันนี้เราจะพาทุกคนมาดู 5 เหตุผลหรือประโยชน์จากการใช้ Salesforce เข้ามาช่วยดำเนินงานในธุรกิจกัน! แต่ก่อนอื่นถ้าผู้อ่านคนไหนยังไม่รู้จัก Salesforce แล้วหละก็สามารถคลิ๊กดูได้ที่ “Salesforce คืออะไร ” ซึ่งเป็นบทความที่ทางเราได้เขียนอธิบายไว้เกี่ยวกับตัว Salesforce ว่าคืออะไรและมีหน้าที่อะไรบ้าง

ถ้าพร้อมแล้วเรามาดู 5 เหตุผลหรือประโยชน์จากการใช้ Salesforce กันเลย

why choose salesforce for business

rolustech.com

1.Salesforce สามารถใช้งานบนมือถือได้

โดย Salesforce เป็นบริษัทแรกเลยที่นำ CRM มาอยู่บนมือถือซึ่งสามารถใช้งานได้ไม่ต่างจากการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ เช่น การเรียกใช้แคมเปญการทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือแบบข้ามหลายช่องทางด้วย Marketing Cloud และจัดการมุมมองทั้งหมดของการเดินทางของลูกค้าแบบให้ความสำคัญกับโทรศัทพ์มือถือเป็นหลัก สามารถทำแคมเปญโทรศัพท์มือถือผ่านระบบอัตโนมัติด้วย Journey Builder และจัดแบ่งกลุ่มผู้ชมเพื่อให้ส่งข้อความที่มีความเกี่ยวข้องสูงสุดด้วย Audience Builder

2.Salesforce เป็นระบบ Cloud base

ผลิตภัณฑ์ Salesforce ทั้งหมดจะใช้งานบนระบบคลาวด์ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาสูงในการติดตั้ง ไม่ต้องดูแลรักษา และพนักงานของคุณสามารถทำงานจากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป

3.Salesforce ใช้งานง่าย

Salesforce ใช้งานง่ายพอๆกับเว็บไซต์ที่เราเข้าเยี่ยมชมกันอยู่ทุกๆวัน คุณสามารถเข้าสู่ระบบได้จากทุกที่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายและดูและอัปเดตข้อมูลลูกค้าได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ และถ้าติดปัญหาตรงไหนหรือต้องการที่จะศึกษาเพิ่มเติมทาง Salesforce ก็ได้มี Community อีกด้วย

4.salesforce integration

แพลตฟอร์ม Salesforce มี open API ที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากซึ่งทำให้การรวม Salesforce กับซอฟแวร์อื่นๆที่ลูกค้ามีการใช้งานอยู่สามารถที่จะทำได้แทบทั้งหมด Salesforce integration เป็นกระบวนการของการรวมข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานของ Salesforce กับแอปพลิเคชันอื่นๆเพื่อมอบประสบการณ์ที่รวมเป็นหนึ่งเดียวแก่ผู้ใช้ ช่วยให้คุณมีฟังชั่นที่ผสมผสานกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งสองแพลตฟอร์มให้กับทีมได้ ผู้ใช้ Salesforce มักจะประสบปัญหาในการปรับข้อมูลให้ตรงกันระหว่างสองแพลตฟอร์มและการสลับไปมาระหว่างกันในขณะที่ทำงาน

5.Salesforce มี Community

อย่างที่ได้บอกไปในข้อ 3 ว่า Salesforce นั้นมี Community ที่ใหญ่โตมากเป็นของตนเองซึ่งจะมีทั้งผู้ใช้งานเอง (User) และ เจ้าหน้าที่ของ Salesforce เองเป็นคนตอบคำถามต่างๆหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างเช่น Dev ก็จะมีการเปิด Forum เพื่อพูดคุยสอบถามปัญหากัน

 

ทิ้งท้าย

นับตั้งแต่เปิดตัว Salesforce ได้ช่วยให้ธุรกิจจำนวนมากสามารถจัดการลูกค้าได้ดีขึ้นและช่วยให้ธุรกิจเติบโต หากคุณกำลังมองหา CRM ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ Salesforce คือคำตอบ

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
Salesforce Omnichannel
บทความ

Salesforce OmniChannel ช่วยให้ประสบการณ์ของลูกค้าดียิ่งขึ้น

ในปัจจุบันไม่ว่าจะขายสินค้าหรือบริการประเภทไหนก็ตามจะต้องสร้าง Loyalty ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์เพื่อให้ลูกค้ายังคงอยู่กับเราไม่เสียลูกค้าไปให้กับคู่แข่ง การจัดการหลายช่องทางอาจกลายเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้หลายแพลตฟอร์มเพื่อสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ยังกลายเป็นเรื่องยากถ้าเราต้องการที่จะติดตามพฤติกรรมของลูกค้าจากหลากหลายช่องทางเพื่อนำมาทำแผนการตลาดดังนั้น Salesforce Omnichannel จึงตอบโจทย์ในเรื่องของการช่วยให้ประสบการณ์ของลูกค้าดียิ่งขึ้น

4 ข้อดีของ Salesforce Omnichannel

1. ช่วยบาลานซ์งานของเจ้าหน้าที่

Salesforce Omnichannel สามารถกำหนดสิ่งที่เรียกว่า Tickets ให้กับเอเจนท์แต่ละรายโดยอัตโนมัติโดยที่ตัวระบบนั้นจะสามารถช่วยดูได้ว่าเอเจนท์แต่ละรายนั้นมีงานอยู่ในมือเยอะแค่ไหนซึ่งตรงนี้เองระบบจะเข้ามาช่วยบาลานซ์งานให้กับเจ้าหน้าที่ให้ไม่เกิดงานที่หนักเกินไปและสามารถช่วยบันทึกสิ่งต่างๆที่ที่เอเจนท์ได้มีการพูดคุยกับลูกค้า

2. ช่วยให้เห็นมุมของของลูกค้าทั้งหมด

ประสบการณ์ของลูกค้าที่ประกอบด้วยการสื่อสารหลากหลายช่องทางทั้งหมดเรียกว่า Omnichannel เอเจนท์สามารถเข้าถึงทุกเว็บไซต์หรือ Touchpoints ต่างๆในร้านค้าที่ลูกค้าเยี่ยมชมด้วยระบบ Salesforce Omnichannel และเวลาที่เอเจนท์กำลังให้บริการลูกค้าอยู่นั้นตัวของผู้ให้บริการจะสามารถเห็นมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโปรไฟล์ของลูกค้าได้ทั้งหมดว่าลูกค้ามี Touchpoints เข้ามาจากช่องทางใดบ้าง

3. เพิ่ม CLV

Salesforce Omnichannel ประสบการณ์การให้บริการแบบ Omnichannel ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรกและไม่น่าแปลกใจเลยที่ลูกค้าต้องการอยู่กับธุรกิจที่ให้บริการแบบประทับใจและรู้ใจ ยิ่งไปกว่านั้นร้านค้าชั้นนำค้าปลีกมองว่าเป้าหมายระยะยาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง รายงาน Coresight แสดงให้เห็นว่า 53% ของผู้ค้าปลีกชั้นนำในยุโรประบุว่าการเพิ่ม CLV ของลูกค้า มาจากการใช้ใช้กลยุทธ์แบบOmnichannel ขณะที่ผู้ค้าปลีกรายอื่นเพียง 34% รู้สึกเช่นเดียวกัน

4. ช่วยเพิ่มยอดขาย

Salesforce Omnichannel ช่วยให้ยอดขายที่เพิ่มขึ้น การศึกษาของ Harvard Business Review แสดงให้เห็นว่าลูกค้าหลายช่องทางใช้จ่ายออนไลน์มากกว่าผู้บริโภคช่องทางเดียวถึง 10% เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ค้าปลีกให้ความสำคัญกับการเติบโตในระยะยาวและกำลังมองประโยชน์ของกลยุทธ์แบบ Omnichannel ให้ใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

 

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
CDP (Customer data platform)
บทความ

วิวัฒนาการของ CDP (Customer Data Platform)

วันนี้เราจะมาพูดถึงวิวัฒนาการของ CDP

ในยุคดิจิทัลปัจจุบันธุรกิจต่างต้องเผชิญกับข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลความท้าทายเลยอยู่ที่การจัดการ วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Satisfaction) เพิ่มประสิทธิภาพ และผลักดันการเติบโตของธุรกิจจึงเกิดการพัฒนาของแพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้าที่เรียกกันว่า CDP

เกริ่นนำ

CDP คือระบบซอฟต์แวร์ที่รวบรวมและจัดการข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาจากหลายแหล่งหลายช่องทาง (Customer Touchpoints) เช่น เว็บไซต์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แอปบนมือถือ และแบบออฟไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างโปรไฟล์ลูกค้าและรวบรวมใช้ข้อมูลเพื่อปรับแต่งการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงแคมเปญทางการตลาดที่จะส่งออกไปหาลูกค้าด้วย

CDP ในช่วงแรก

แนวคิดของการจัดการข้อมูลลูกค้าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ CDP รุ่นแรกเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2010 CDP โดยถูกพัฒนาให้มุ่งเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลเป็นหลัก โดยไม่สามารถที่จะใช้แดชบอร์ดในการวิเคราะห์และเปิดใช้งานข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ ผลที่ตามมาคือกว่าจะนำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ก็อาจจะทำให้เทรนของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว

การเกิดขึ้นของ CDP รุ่นที่สอง

เมื่อความต้องการการที่จะใช้ข้อมูลเพื่อเรียกดูแบบแดชบอร์ดและการเปิดใช้งานข้อมูลแบบเรียลไทม์เพิ่มขึ้น CDP รุ่นที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางปี 2010 CDP รุ่นที่สองมีคุณสมบัติขั้นสูงมากขึ้น เช่น ความสามารถในการแบ่งกลุ่มข้อมูลลูกค้า(Segmentation) สร้างแบบจำลองเพื่อใช้ในการ Forecast และสามารถทำการตลาดแบบส่วนบุคคล(Personalization) ได้แบบเรียลไทม์ CDP รุ่นที่สองยังรวมช่องทางข้อมูลออฟไลน์เข้ามาเก็บรวบรวมอีกด้วย

CDP รุ่นที่สาม

ด้วยความคาดหวังที่เปลี่ยนไปของลูกค้าและความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ๆของผู้บริโภค CDP รุ่นที่สามจึงเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา CDP รุ่นใหม่ๆถูกออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สร้างโดยลูกค้าที่ประกอบไปด้วยช่องทางการเข้ามาที่หลากหลาย (Tochpoints) และใช้ AI เพื่อการเรียนรู้เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้นๆ

อนาคตของ CDP

เมื่อ AI และแมชชีนเลิร์นนิงก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง CDP ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น CDP จะช่วยให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมและความชอบของลูกค้าได้แม่นยำยิ่งขึ้น และจะสามารถทำงานด้านการตลาดและการบริการลูกค้าจำนวนมากได้โดยอัตโนมัติ (Automation) นอกจากนี้ CDP ยังสามารถรวมเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆได้ เช่น Marketing automation tools เพื่อมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นให้กับลูกค้าในทุกช่องทาง

ตัวอย่างการใช้ CDP ในสถานการณ์จริง

CDP ถูกใช้ในสถานการณ์จริงที่หลากหลาย ตั้งแต่อีคอมเมิร์ซไปจนถึง Healthcare นี่คือตัวอย่างบางส่วน

E-commerce: ผู้ค้าปลีกออนไลน์ใช้ CDP เพื่อรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากเว็บไซต์ ช่องทางโซเชียลมีเดีย และแคมเปญการตลาดผ่านอีเมลจากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา E-commerce สามารถสร้างแคมเปญอีเมลที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นซึ่งปรับให้เป็นแบบส่วนตัว(Personalized) ตามพฤติกรรมการเข้าดูสินค้าและการซื้อสินค้า

Healthcare: ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพใช้ CDP เพื่อจัดการข้อมูลผู้ป่วยใน Touchpoints ต่างๆ เช่น กำหนดการนัดหมาย เวชระเบียน การเรียกดูประวัติผู้ป่วยได้จากทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ และการเรียกเก็บเงิน

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
CRM VS CDP
บทความ

CRM กับ CDP ต่างกันอย่างไรและควรเลือกใช้อันไหน? (2023)

วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูขัอแตกต่างระหว่าง CRM (Customer relationship management) กับ CDP (Customer data platform) ว่าทั้งสองตัวนี้แตกต่างกันอย่างไรและแบบไหนที่ใช่สำหรับองค์กรหรือบริษัทของเรา

CRM และ CDP ทั้งสองแพลตฟอร์มถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับข้อมูลลูกค้าทั้งคู่

CRM เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า มุ่งเน้นกิจกรรมด้านการขาย การตลาด และการบริการลูกค้า CRM เปรียบเสมือนบ้านสำหรับข้อมูลลูกค้าทั้งหมด ครอบคลุม Customer Journey ลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้นให้ความสนใจ จนกระทั่งกลายเป็นลูกค้าและให้บริการหลังการขาย หลักๆมักจะถูกใช้ต่อยอดและส่งเสริมหลังการขาย

ในทางกลับกัน CDP จะทำหน้าที่เป็นเหมือนถังเก็บข้อมูลที่คอยรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันและสร้างข้อมูลที่ได้รวบรวมมานั้นให้เป็นมุมมองแบบ 360 ของลูกค้าแต่ละรายบุคคล CDP นั้นสามารถรับข้อมูลแบบเชิงรับมากกว่า(passive way of acquiring data) เนื่องจาก CDP นั้นใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากการที่ลูกค้าเข้ามาเองและดูการมีส่วนร่วมของลูกค้าในช่องทางต่างๆของเรา เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือ อีเมล์

ต่อไปเรามาเจาะลึกแต่ละตัวกันดีกว่า

เริ่มกันที่ CRM

CRM คือที่ที่ทีมการตลาด การขาย และทีมซัพพอร์ตจะคอยป้อนข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งรวมถึงบันทึกจากการโทร การแชทกับลูกค้า การให้บริการหลังการขายหน้าร้านหรือออนไลน์และคะแนนการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า CRM เป็นแหล่งที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดเกี่ยวกับลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนรับข้อมูลแบบเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ทีมไหนในบริษัทและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด

อย่างที่ได้บอกไปข้างบนว่า CRM นั้นหลักๆจะถูกใช้งานเพื่อต่อยอดและส่งเสริมหลังการขาย เช่น การใช้ CRM ทำ Loyalty โปรแกรมเพื่อสะสมแต้มสมาชิกตัวอย่างที่เห็นอย่างได้ชัดก็คือ สถานีบริการน้ำมันต่างๆที่เวลาเราไปเติมจะมีบัตรสะสมแต้มให้เราสมัครฟรีและคอยส่งข่าวมาที่อีเมล์หรือหาเราที่บ้านเวลามีโปรโมชั่นต่างๆ (แต่ต้องเป็นสมาชิกที่สมัคร)

CDP

ส่วน CDP นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลจากทุกช่องทางให้มาอยู่ในที่ที่เดียวไม่ว่าลูกค้าจะเข้ามาจากช่องทางไหนก็ตามข้อมูลก็จะถูกอัพเดทโดยอัตโนมัติอีกด้วยเช่น ลูกค้าคนคนเดียวกันได้มีการพูดคุยสอบถามผ่าน Facebook ต่อมาเขาไปคุยกับเราบน Website และต่อมาอาจจะมาคุยกับเราผ่าน Line ตัวระบบ CDP นั้นก็จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและข้อมูลเหล่านั้นจะถูกดำเนินการรวมโดยอัตโนมัติว่าเขาคนนั้นคือลูกค้าคนคนเดียวกันกับที่คุยกับเราผ่านทั้งสามช่องทางโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลยตัวข้อมูลจะถูก Merge เองโดยอัตโนมัติ

แบบไหนที่เหมาะกับเรา ?

ก็คงต้องถามตัวเราเองว่าเราต้องการอะไรระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางให้มาอยู่ในที่ที่เดียวกับการที่เราต้องการซอฟแวร์สักอย่างหนึ่งที่จะมาช่วยให้เราให้บริการหลังการขายกับลูกค้ามีการ Upsell และมีการยิง Marketing Automation ออกไปหาลูกค้าเพื่อให้เกิดการ

 

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
บทความ

5 ข้อดีของการมี Salesforce เพื่อทีมการตลาดของบริษัทคุณ

การตลาดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทีมการตลาดจะมีหน้าที่สร้างความสนใจให้กับแบรนด์และผลิตภัณฑ์และเปลี่ยนผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าให้เป็นลูกค้าจริงๆได้

การเพิ่มศักยภาพให้กับทีมการตลาดของคุณด้วยเครื่องมือและตัวช่วยที่เหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านการตลาด การขาย และเพิ่มรายได้ เช่น การมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ดีขึ้น การใช้จ่ายงบประมาณด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น Salesforce Sales Cloud เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทีมการตลาดของคุณควรจะใช้งาน Salesforce Sales Cloud เป็นโซลูชัน CRM ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลก

โดย Sales Cloud จะนำข้อมูลลูกค้าทั้งหมดมารวมกันในแพลตฟอร์มที่รวมถึงการบริการลูกค้า การสร้างโอกาสในการขาย การตลาด การขาย และการวิเคราะห์ธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันเพิ่มเติมบนแพลตฟอร์ม AppExchange เพื่อช่วยปรับปรุงการดำเนินงานด้านการขาย การตลาด และการบริการลูกค้า

ปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)

Salesforce CRM เป็นเครื่องมือการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแต่งตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายได้ (Personalization) และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถรวมข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไว้ในที่เดียวโดยการรวมหลายองค์ประกอบเข้าด้วยกัน เช่น การสร้างโอกาสในการขาย การบริการลูกค้า การขาย และการตลาด

Sales Cloud ยังมาพร้อมกับการจัดการบัญชีและการติดต่อที่ให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ทีมการตลาดและการขายเกี่ยวกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Conversion ก่อนหน้านี้ที่ทีมการตลาดและการขายมีกับลูกค้าตั้งแต่การติดต่อครั้งแรก

Salesforce Sales Cloud จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของลูกค้าไว้ในที่ที่เดียวทำให้ทีมการตลาดของคุณสามารถปรับแต่ง Customer journey ให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทีมของคุณยังสามารถเข้าถึงเครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) สามารถใช้เพื่อลดความซับซ้อนของงานที่ทำซ้ำๆได้

Salesforce Sales Cloud ยังสามารถแสดงข้อมูลลูกค้าทั้งหมดบนแดชบอร์ด ทำให้กระบวนการสำหรับทีมขายและการตลาดง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักการตลาดสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นเนื่องจากปัจจุบัน ลูกค้าต้องการประสบการณ์ที่รวดเร็วและเป็นส่วนตัวมากขึ้นจากแบรนด์ที่ลูกค้ามีการติดต่อสื่อสารหรือสอบถามปัญหา ผ่าน CRM

CRM ยังช่วยให้ทีมการตลาดติดตาม Feedback ของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการของคุณได้ ด้วยข้อมูลนี้คุณสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการบริการของคุณ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าของคุณได้ดียิ่งขึ้น

5 ข้อดีของการมี Salesforce เพื่อทีมการตลาด

1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ระบบ Automation จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอีคอมเมิร์ซลูกค้าสามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้พนักงานสามารถไปทำงานในส่วนอื่นได้มากยิ่งขึ้น เช่นการปรับปรุงประสบการณ์การบริการลูกค้า Salesforce B2B Commerce

2. ลูกค้ามากขึ้น
สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจคือการตามให้ทันเทรนด์และการช้อปปิ้งออนไลน์ก็เป็นวิธีที่นักช้อปนิยมกันในทุกวันนี้ อย่างที่บอกไปว่าตัว Salesforce มีทั้งระบบ Marketing automation และระบบที่จะวิเคราะห์ Personalization เพื่อทำให้การตลาดที่ยิงออกไปนั้นตรงจุดและมีประสิทธิภาพเข้าถึงลูกค้าได้ถูกกลุ่มเป้าหมาย

3. ปรับปรุงการรับรู้แบรนด์
แม้ว่าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณจะไปลูกค้าคนเดิมๆ แต่คุณก็ได้เพิ่มการมองเห็นแบรนด์ของคุณหากลูกค้าไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับธุรกิจหรือสินค้าของคุณมาก่อน พวกเขาก็จะรู้จักหลังจากเรียกดูไซต์ของคุณแล้ว ความสามารถในการควบคุมภาพลักษณ์ของแบรนด์ของคุณทางออนไลน์จะช่วยให้คุณเติบโตและส่งเสริมแบรนด์ของคุณทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. เพิ่มยอดขาย
ลูกค้าใหม่ย่อมหมายถึงรายได้ที่มากขึ้น! ไม่เพียงเท่านั้น ตอนนี้คุณสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือแนะนำการขายต่อเนื่องและการขายเพิ่มอัตโนมัติที่ Salesforce มอบให้ ด้วยสิ่งนี้ คุณสามารถแสดงผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อตามข้อมูลของพวกเขา ซึ่งนำไปสู่การเติบโตที่มากขึ้น!

5. ความสามารถในการวิเคราะห์
เมื่อขายผลิตภัณฑ์ของคุณผ่าน Salesforce B2B Commerce คุณจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือวิเคราะห์ที่ดีที่สุดในตลาด สิ่งนี้จะช่วยให้คุณวัดผลแคมเปญการตลาด ยอดขาย สินค้าคงคลัง การมีส่วนร่วมของลูกค้า และอื่นๆ อีกมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ! จากนั้นคุณสามารถใช้จุดข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพออนไลน์ของคุณ

สรุป

การตลาดยังคงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพให้กับทีมการตลาดของคุณรวมถึงการจัดเตรียมเครื่องมือและระบบที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้นักการตลาดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Salesforce Sales Cloud เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สนับสนุนทีมการตลาดได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ และจัดการลูกค้าสัมพันธ์ได้ดีขึ้น

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
Omnichannel คืออะไร
บทความ

Omni channel คืออะไร ? (2023)

เมื่อมีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆไม่ว่าจะเป็นที่ร้านค้าที่มีหน้าร้านจริง ทางอินเทอร์เน็ต ทางข้อความ หรือทางโซเชียลมีเดียนั่นคือการตลาดแบบที่เราเรียกกันว่า Omnichannel ทุกช่องทางจะต้องถูกเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมดไม่ว่าลูกค้าจะไปใช้บริการหรือมีการคุยผ่านช่องทางไหนก็ตามจะต้องมีข้อมูลของลูกค้าคนนั้นที่เชื่อมถึงกันทั้งหมด

Omnichannel คืออะไร?

Omnichannel คือการตลาดแบบหลายช่องทางคือการผสมผสานในหลายๆอย่างเข้าด้วยกันเช่น การสร้างแบรนด์ การส่งข้อความ และช่องทางติดต่อออนไลน์และออฟไลน์เพื่อทำให้การสื่อสารและการบริการลูกค้าอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อที่รวดเร็วและรู้ใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

มากไปกว่านั้นการตลาดแบบ Omnichannel จะใช้มุมมองของผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ทางการตลาด โดยที่ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกับแบรนด์ผ่านช่องทางนับไม่ถ้วนตั้งแต่โซเชียลมีเดียไปจนถึงฝ่ายบริการลูกค้า แนวทาง Omnichannel ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ที่ดีและสอดคล้องกันในแต่ละช่องทางที่ผู้บริโภคได้มีการพูดคุยสื่อสารไว้แล้ว โดยนำเสนอองค์ประกอบหลักเช่น

– การส่งข้อความส่วนบุคคลตามความสนใจเฉพาะ
– เนื้อหาที่แจ้งจากการสื่อสารในอดีตและขั้นตอนปัจจุบันของผู้ซื้อว่าอยู่ในตั้นตอนไหนและต้องทำอย่างไรต่อ
– แบรนด์ที่สามารถระบุตัวตนได้จะทำให้การจดจำแบรนด์ง่ายขึ้น ในขณะที่การปรับเปลี่ยนในแบบตามความสนใจและประวัติการช้อปปิ้งทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะมีการสื่อสารกับเนื้อหาของแบรนด์ผ่านช่องทางต่างๆมากยิ่งขึ้นจึงทำให้เกิดโอกาสการปิดการขายได้มากขึ้น

ตัวอย่างของการใช้ Omnichannel

ตัวอย่างหลายช่องทางสามารถแสดงให้เห็นแนวทางของธุรกิจต่างๆ

ตัวอย่างแรก Best Buy จะมุ่งเน้นไปที่การค้า (ทั้งในร้านค้าและออนไลน์) แต่เพิ่มประสบการณ์ในร้านค้าด้วยการสร้างข้อเสนอให้ลูกค้าได้สำรวจโซลูชันเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะ โดยจับคู่กับบริการให้คำปรึกษาฟรีในบ้าน และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วยให้ลูกค้า “สแกนเพื่อซื้อสินค้า” จากแคตตาล็อกหรือซื้อออนไลน์และรับสินค้าในร้านค้าเอง ทำให้การเดินทางตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางราบรื่นสำหรับลูกค้าด้วยการสนับสนุนด้านไอทีตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันจาก Geek Squad ข้อเสนอการสนับสนุน Totaltech ของ Best Buy ดึงดูดใจลูกค้า โดยเปิดตัวพร้อมสมาชิก 200,000 รายในปี 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านรายภายในหนึ่งปี

Sephora ผู้ค้าปลีกด้านความงามเน้นการปรับการส่งข้อความให้เป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น (Personalized) ในทุกช่องทาง โดยใช้การส่งข้อความในแอปการแจ้งเตือนแบบพุชส่วนบุคคลและวิธีการง่ายๆ สำหรับลูกค้าในการจองคำปรึกษาแบบตัวต่อตัว เทคโนโลยีภายในร้านเป็นส่วนเสริมซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงรายการโปรดของลูกค้าและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่อาจลองใช้ในครั้งถัดไป และโปรแกรม Loyalty ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน จากการใช้แผนดังกล่าวได้เพิ่มมูลค่าให้กับ Sephora เป็นอย่างมาก ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าลูกค้าที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ค้าปลีกภายใน 24 ชั่วโมงของการเยี่ยมชมร้านค้ามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น 3 เท่า และมียอดสั่งซื้อสูงกว่าลูกค้ารายอื่นถึง 13 เปอร์เซ็นต์

Nike ใช้มุมมองของ Omnichannel ขยายประสบการณ์แบรนด์และนำเสนอแพลตฟอร์มเนื้อหา ข้อเสนอ และการสื่อสารกับคอมมูนิตี้ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แก่ลูกค้า ตัวอย่างเช่น แอป SNKRS และ Run Club อำนวยความสะดวกในการพบปะแบบตัวต่อตัว กลุ่มวิ่ง และกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแอพสำหรับนำเสนอการออกกำลังกายและโปรแกรมฟิตเนสเฉพาะบุคคล สร้างประสบการณ์ที่นอกเหนือไปจากไลน์รองเท้าและเครื่องแต่งกายเพื่อตอบสนองลูกค้าในกิจวัตรประจำวันของพวกเขา

สรุป

กลยุทธ์การตลาดแบบ Omnichannel ช่วยให้ร้านค้าหรือบริษัทสามารถพบกับผู้บริโภคได้ทุกที่ด้วยข้อความที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม ด้วยการตลาดแบบ Omnichannel องค์กรต่างๆ สามารถมอบประสบการณ์ลูกค้าแบบครบวงจร สามารถทำให้ Touchpoint ของลูกค้าได้ว่าเข้ามาจากจุดไหนตลอดจนเห็น Customer journey สิ่งนี้ไม่เพียงส่งเสริมการรับรู้ถึงแบรนด์ให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การเพิ่ม ROI และยอดขาย ตลอดจนการรักษาลูกค้าและความภักดีที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ สามารถเปิดใช้งานประสบการณ์แบบ Omnichannel สำหรับผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นผ่านแพลตฟอร์มต่างๆในปัจจุบัน

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
CDP
บทความ

CDP คืออะไร ? (Customer Data Platform) 2023

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ CDP กันว่ามันคืออะไร และทำไมปัจจุบันหลายๆบริษัทหรือหลายๆสื่อถึงพูดคำว่า CDP กันมากขึ้น

CDP คืออะไร ?

CDP หรือ Customer Data Platform ก็คือหนึ่งในเครื่องมือ Martech ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางให้มาอยู่ในที่ที่เดียว จากในภาพเราจะเห็นได้ว่าไม่ว่าข้อมูลของลูกค้าทุกอย่างจะถูกนำมาเก็บไว้ที่ตัวของ CDP เช่น Personal demographic เพศ อายุ ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าในซื้อหรือเข้าถึงแบรนด์ (Customer Journey) ข้อมูลในการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ข้อมูลการชำระเงินโอนเงิน และข้อมูล Device ที่ลูกค้ามีการใช้ติดต่อซื้อสินค้าพูดคุยหรือเห็นโฆษณาก็จะถูกนำมารวบรวมอย่างที่ได้บอกไปข้างต้น

และเมื่อข้อมูลถูกส่งเข้ามาอยู่ที่ตัว CDP แล้วนักการตลาดก็จะทำการ Segmentation ว่าลูกค้าคนคนนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่และประเภทอะไรเพื่อที่เราจะแยกกลุ่มลูกค้าของเราให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อการทำการตลาดให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดและตรงใจกับลูกค้ามากที่สุดเมื่อเราได้ทำการ Segmentation เสร็จแล้วก็จะมีการคาดการณ์ (Predictive) ว่าจากข้อมูลลูกค้าที่เราได้รับมาและแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าเรียบร้อยแล้วนั้นลูกค้าจะชอบแคมเปญการตลาดแบบไหนมากที่สุดก่อนที่จะยิงแคมเปญด้านการตลาดออกไป

ซึ่งในช่องต่อไปก็คือช่อง Channels หมายความว่าเราสามารถส่งแคมเปญด้านการตลาดของเราผ่านตัว CDP ไปหยั่ง Channels ที่เรามีอยู่แล้วได้เลยไม่ว่าจะเป็น Email, Push Messaging, SMS, Social medias , Direct mail หรือบน Website เวลาที่ลูกค้าเข้ามาดูจะมีการแจ้งเตือนเป็น Web-push

Customer Data Platform (CDP)

ภาพจาก

https://econsultancy.com/

CDP จำเป็นต้องมีหรือไม่ ?

อันที่จริงแล้วจะมีหรือไม่มีก็ได้

ต้องขอบอกว่าขึ้นอยู่กับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าของบริษัทหรือร้านค้านั้นๆว่าประกอบธุรกิจอะไรอยู่และมีฐานลูกค้าเยอะขนาดไหน ถ้าฐานลูกค้าของคุณไม่ได้เยอะ CDP ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้ แต่ถ้าฐานลูกค้าของเราเยอะอย่างเช่นกลุ่มธุรกิจที่เป็น FMCG industry ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจำเป็นต้องมี CDP เข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้าและการรักษาลูกค้าไว้อย่างที่ได้บอกไปว่า CDP นั้นจะเก็บข้อมูลทั้งหมดของลูกค้าที่เข้ามาโดยอัตโนมัติ ลองนึกภาพว่ากลุ่มธุรกิจ FMCG มีลูกค้ามากกว่า 100,000 คนแน่นอนอยู่แล้วและการที่จะเก็บข้อมูลลูกค้าต้องเป็นเรื่องที่ยากแน่ๆถ้าไม่มี CDP เข้ามาช่วยให้ลองนึกเล่นๆว่าต้องคีย์ข้อมูลของลูกค้าทุกคนทุกช่องทางที่เข้ามาและพฤติกรรม 100,000 คน คนที่ทำก็คงจะมีการเก็บข้อมูลที่ผิดพลาดตกหล่นและทำไม่ทันอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงบอกว่ามันขึ้นอยู่กับขนาดธุรกิจและลูกค้าของเราว่ามีเยอะมากน้อยขนาดไหน

 

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
เทรนการตลาดในปี 2023
บทความ

7 เทรนด์การตลาดในปี 2023

วันนี้เราจะพาทุกคนมาดู 8 เทรนการตลาดในปี 2023 ว่าจะมีอะไรกันบ้างในปีนี้ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ในปี 2023 เทรนด์การตลาดบางส่วนที่ธุรกิจและนักการตลาดส่วนมากกำลังให้ความสำคัญนั่นก็คือ

  1. Personalization ด้วยความสามารถและศักยภาพปัจจุบันของ AI และเทคโนโลยี CRM เราสามารถปรับเปลี่ยนความต้องการทางการตลาดให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละรายได้เพื่อต้องสนองสิ่งที่เรียกว่า Need ของลูกค้า เช่นแคมเปญอีเมลแบบส่วนบุคคล โฆษณาโซเชียลมีเดียที่ตรงใจมากยิ่งขึ้นซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ และลูกค้าสามารถที่จะทำการ customized product recommendations ได้จากแบรนด์อีกด้วย

2. การตลาดผ่านวิดีโอ: เนื้อหาวิดีโอยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคในปี 2023 เช่น TikTok , Facebook Reels และ Instagram Reels และธุรกิจต่าง ๆ กำลังใช้ประโยชน์จากเทรนด์นี้เพื่อสร้างวิดีโอที่น่าสนใจและให้ข้อมูลเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งรวมถึงการสาธิตผลิตภัณฑ์ วิดีโออธิบาย และเนื้อหาที่มีแบรนด์

3. การเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาด้วยเสียง: ขอยกตัวอย่างเคสจาก TikTok ในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาด้วยเสียงหมายความว่าเราจะเลือกเพลงที่มาใส่หรือ Audio ที่ติด Top trends มีผู้ใช้ (Users) ใช้เสียงหรือเพลงนั้นเยอะเมื่อเรานำมาใช้ใส่ในวีดีโอของเราก็จะเพิ่มโอกาสการมองเห็นให้กับผู้คนที่เล่นแพลตฟอร์มอยู่มากยิ่งขึ้น

4. การตลาดที่ใช้ Influencer และ KOL : การตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ยังคงเป็นกลยุทธ์ยอดนิยมสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าถึงผู้ชมและลูกค้าใหม่ๆ แบรนด์ต่างๆจะร่วมมือกับ Influencer และ KOL เพื่อสร้างเนื้อหาที่มีการสนับสนุนสินค้าและโปรโมตผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

5. Sustainability: ในปัจจุบันผู้บริโภคมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ในการซื้อแต่ละครั้งผู้บริโภคมักจะคิดและคำนึงอยู่เสมอ ซึ่งธุรกิจต่างๆก็ตอบสนองโดยผสมผสานแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดเช่นแบรนด์ น้ำทิพย์ที่ได้รี design ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดรวมถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน

6. การสร้างเนื้อหาแบบโต้ตอบ: เนื้อหาแบบโต้ตอบ เช่น แบบทดสอบ แบบสำรวจ และแบบสำรวจกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากผู้บริโภคจะรู้สึกว่าตนเองนั้นมีส่วนร่วมสำหรับธุรกิจและเสียงของตนนั้นสำคัญจึงทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าแบรนด์นั้นๆได้ให้ Value  เนื้อหาประเภทนี้สามารถช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าและกระตุ้นการแปลง

7. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR): เทคโนโลยี AR และ VR สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และธุรกิจต่าง ๆ ก็ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สมจริงให้กับลูกค้า ซึ่งรวมถึงการสาธิตผลิตภัณฑ์เสมือนจริง โฆษณาเชิงโต้ตอบ และประสบการณ์การช็อปปิ้งที่เปิดใช้งาน AR

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวโน้มทางการตลาดที่ธุรกิจและนักการตลาดกำลังมุ่งเน้นในปี 2566 เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจจะต้องติดตามเทรนด์ล่าสุดและปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการปัจจุบัน

 

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
Segmentation
บทความ

ประโยชน์ของการใช้ CRM เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้า

การแบ่งกลุ่มลูกค้าคืออะไร? (Segmentation)

แน่นอนว่าธุรกิจต่างๆต้องมีลูกค้าที่มีความต้องการเหมือนกันและลูกค้าที่มีความชอบที่แตกต่างกันหรือมาจากสถานที่ที่หลากหลายและกลุ่มอายุต่างกัน ความคาดหวังของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์และการให้บริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไป

กุญแจสำคัญในการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพก็คือการเข้าใจความต้องการในทุกส่วนของธุรกิจให้อย่างชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์ การสื่อสาร บริการ และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้และพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อสร้างการซื้อซ้ำหรือบอกต่อในอนาคต

การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เป็นกระบวนการจัดระเบียบรายชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มต่างๆ ตามความสนใจร่วมกันและเกณฑ์เฉพาะ เช่น เพศ อายุ สถานที่ ฯลฯ

การแบ่งกลุ่มลูกค้าช่วยให้ธุรกิจและนักการตลาดมีโอกาสปรับแต่งการสื่อสารตามกลุ่มลูกค้าเฉพาะเพื่อการทำข้อความหรือแคมเปญแบบ Personalization และความต้องการหรือความคาดหวังเฉพาะการแบ่งกลุ่มจะช่วยให้สามารถระบุความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มได้ง่ายขึ้นและในที่สุดก็จะกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

การแบ่งกลุ่มลูกค้าทำได้โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ

1.ความคาดหวัง: อาจเป็นความคาดหวังในแง่ของผลิตภัณฑ์หรือการบริการคนกลุ่มนี้จะพึงพอใจหากความต้องการของเขาได้รับความช่วยเหลือจากสินค้าหรือบริการของเรา

2.พฤติกรรม: ขอยกตัวอย่างจากพฤติกรรมของลูกค้า เช่น รูปแบบการซื้อ (Customer journey เช่นลูกค้าชอบซื้อสินค้าผ่านทางแอปชอปปิ้งมากกว่าซื้อจากหน้าเว็บโดยตรง) ปฏิกิริยาต่อการสื่อสารทางการตลาดและอื่นๆ จึงจำเป็นต้องระบุและจัดการกับทุกพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าของคุณผ่านการแบ่งส่วนที่เหมาะสมและการสื่อสารการตลาดที่ตรงเป้าหมาย

ทำไมต้อง Segmentation? (แบ่งกลุ่มลูกค้า)

เมื่อต้องการให้แคมเปญการตลาดประสบความสำเร็จเราจะต้องเข้าถึงคนที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดกระบวนการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ
การเข้าถึงคนที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมคือหัวใจหลักในการแบ่งกลุ่มลูกค้า นักการตลาดต้องทำความเข้าใจกลุ่ม audience ต่างๆและความต้องการอย่างแท้จริงการแบ่งกลุ่มลูกค้าจึงจะสามารถช่วยให้ธุรกิจบรรลุผลได้มากกว่าแค่การตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า

1. ด้วยความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับฐานลูกค้าที่หลากหลายของคุณ ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงตามความต้องการเฉพาะของกลุ่มลูกค้าได้

2. ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเพื่อเพิ่ม Value ให้ได้มากที่สุดและเหตุใดลูกค้าจึงภักดีต่อแบรนด์ 

3. ลูกค้าทุกกลุ่มจะมีความชอบที่แตกต่างกันในการเลือกรับการสื่อสาร ด้วยการแบ่งกลุ่มลูกค้า เราสามารถที่จะสื่อสารด้วยสื่อเฉพาะที่ตามที่ลูกค้าต้องการสำหรับทุกเซกเมนต์ ตัวอย่างเช่น อีเมลที่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายสร้าง CTR ต่ำกว่าแคมเปญที่กำหนดเป้าหมาย 50%

4.ตอบสนองความคาดหวังของทุกกลุ่มในแง่ของการบริการหลังการขายโดยเข้าใจความต้องการและข้อเสนอแนะจากลูกค้ากลุ่มต่างๆ

5. ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและความภักดีต่อแบรนด์ผ่านเนื้อหาส่วนบุคคลแบบ Personalized

6. สำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ บริการ และตัวเลือกราคาที่หลากหลายในกลุ่มต่างๆ

7. โอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือความต้องการร่วมกันของลูกค้าหลายกลุ่ม

8. เมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การมีความรู้เกี่ยวกับฐานลูกค้าอยู่แล้วสามารถช่วยให้รวมคุณลักษณะที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดและมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์จะได้รับการชื่นชมจากคอมมูนิตี้

ประโยชน์ของการแบ่งกลุ่มลูกค้า

เป้าหมายสูงสุดของแคมเปญการตลาดคือการเข้าถึงคนที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมด้วยข้อความที่เกี่ยวข้อง การแบ่งกลุ่มลูกค้าช่วยให้ทำแคมเปญด้านการตลาดได้ง่ายขึ้นและแม่นยำมากขึ้น

ตัวอย่างประโยชน์ของการแบ่งกลุ่มลูกค้า

  • การเพิ่มประสิทธิภาพด้านราคา (สามารถตั้งราคาได้แพงมากยิ่งขึ้น)

ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าและความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการในแง่ของราคาและปัจจัยอื่นๆ 

เมื่อได้ราคาที่เหมาะสมสำหรับทั้งตัวเราและลูกค้าแล้วก็เท่ากับว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้ว

  • การรับรู้ถึงแบรนด์

เมื่อคุณทราบรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าต่างๆ ของคุณแล้วคุณสามารถนำเสนอการปรับเปลี่ยนในแบบของคุณได้มากขึ้นในการสื่อสารของคุณผ่านแคมเปญการตลาดที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น

หากเราลองส่งข้อความที่ถูกต้องไปยังลูกค้าที่ถูกต้องลูกค้าจะชอบและจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์หรือบริษัทของเรา และสร้างภาพจำว่าแบรนด์นี้หรือบริษัทนี้ดูแลเราดีและสื่อสารแบบที่เราต้องการ ทำให้ในอนาคตมีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อมากยิ่งขึ้น

  • ความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น

การทำความรู้จักกับลูกค้าของคุณโดยละเอียดจะช่วยเพิ่มการรักษาลูกค้าของคุณผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งรักษาลูกค้าได้มากเท่าไหร่รายได้ก็จะมากขึ้นเท่านั้น สิ่งนี้จะทำให้คุณได้เปรียบเหนือการแข่งขันและจะเป็นโอกาสสำหรับคุณที่จะทำให้เราก้าวนำคู่แข่ง

  • การรักษาลูกค้า

การแบ่งกลุ่มลูกค้าจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับลูกค้าของคุณได้ดียิ่งขึ้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกค้าของคุณมีความภักดี ลูกค้าส่วนใหญ่ของคุณมีแนวโน้มที่จะอยู่กับแบรนด์ของคุณเพื่อตอบสนองความต้องการ จึงทำให้คุณมีอัตราการซื้อซ้ำสูง (Loyalty)

  • ช่วยให้การใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายลูกค้าด้วยการสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมมันจะทำให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาดได้มาก

 

Get on the path to faster sales! 
Watch a guided tour or try free trial now!

มาร่วมทดลอง Salesforce CRM #1 กันเถอะ

ทดลองฟรี
1 2 3 4 5 6

ร่วมทดลอง CRM #1 ของโลกฟรี 30 วัน

Get a Quote

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

Save